วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

บนแผ่นดินศอลาฮุดิน อัยยูบี




Solahudin
Benteng pertahanan
การเมืองอียอปต์ เข็มข้น
อุมัน สุไลมาน ต้องชนะการเลือกตั้ง อาจจะใช้กดโกง หากแก่ชนะจะมีการปฏิวัติครั้งที่สอง
อีหม่านซาฟีอี ผู้ปฎิรูปศาสนาอิสลาม ควารู้วิชาอุซุลฟิกฮ์ ผ้แต่งหนังสืออัรรีซาละห์ ศตวรรษแห่งการฟื้นฟูอิสลาม- ท่านเป็นหนึ่งผู้ฟื้นฟูศาสนาอิสลามท่านมีหนังสือที่แต่งขึ้นมาเรียกว่า กีตาบออม
หนังสือที่มีชื่อกีตาบโอมนี้ ท่านได้แต่งเป็นหนังสือของท่าน ตามประวัติศาสตร์ยุคของท่านปีฮิจเราะห์ที่ 105 การกำเนิดอีหม่านซาฟีอีในคืนเดียวกันกับการเสียชีวิตของอาบูฮานีฟะห์ ทดแทนคนใหม่ผู้มีความรู้ศาสนาอิสลามเกิดที่ปาเลสไตน์ เมืองอับกอลาม
อาบูอับดุลเลาะห์ เชื้อสายท่านนบี เป็นตระกูล พ่อเสียชีวิต กลายเป็นลูกยาตีม ลำบาก และเป็นผู้หนึ่งที่มีประวัติฮิจเราะห์คือการเดินทางย้ายถิ่นมาก เป๊นคนมักกะห์ เผ่าฮุเซล เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับ เติบโตเก่งอ่านหนังสือ และเก่งในการยิงธนูเก่ง มีการพูดถึงท่านจะเก่งมากและแม่นในการยิงธนู หากยิงไปสิบดอก ถูกเก้าดอก ท่านเป็นคนอาลีมมีความจำดีมาก จำหมดทุกอย่างเมื่ออาจารย์สอน ทุกเรื่องทึกคำที่อุซตากพูดที่สอนท่านจะเก็บมาอธิบายได้หมด ท่านเป็นยอดคนที่มีความจำดีเลิศ
ป้อมปราการซอลาฮูดดีน สร้าง 614 ยัลมูอคอตตอมปกป้องเมืองไคโร เป็นที่สูง เกิดที่ตัดรีบ เป็นแม่ทัพ

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

Jaringan Radio Rakyat Fathoni Darussalam


Jaringan Radio Rakyat Fathoni Darussalam
เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมฟาตอนีดารุสสาลาม เปิดรับสมัครสมาชิกเข้าร่งมกิจกรรมและจีดกิจกรรมร่วมกันภายใต้การขับเคลื่อนสู่สังคมสันติสุข โดยมีวัตถุประสงค์
-พัฒนาสื่อภาคประชาชน สร้างความเข้าใจ เข้าถึง
-พัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
-เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทของพลเมืองไทย สิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ
วิทยุชุมชนที่มีคูณสมบัติ
-วิทยุชุมชนเพื่อเผยแผ่กิจกรรมของชุมชน
-ไม่แสวงหากำไร ทางธุรกิจ
ขอเชิญท่านเข้าร่วมเป็นสมาชิก
ส่งใบสมัครรับแบบฟอรมสมัครเป็นสมาชิก อีเมล nibongjala@gmail.com

- ค่าสมัครสมาชิก 1000 บาท ตลอดชีพ

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สังเวย 4 ศพ ฝีมือสัตว์มนุษย์หรือกากเดน


5 -5 - 2011
กาโสด-บันนังสตา-ยะลา
เมื่อความตายจากสถานการณ์ความรุนแรง ด้วยฝีมือของคนที่เป็นเหยี่ยวมีอาวุธเอ็มสิบหก สังเวยชีวิตชาวมุสลิมที่เดินผ่านร้อนกาแฟ แน่นอน มุสลิมกลายเป็นธรรมดา ทำเป็นทองไม่ร้อน ต่อสภาพความสูญเสียที่ปรากฏ ไม่รู้สึกปวดร้าวใดๆกับความเสีย สนใจแต่ปากท้องและการแต่งกายเอาเสื้อผ้าน้องมาส่วมใส
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราต้องมีพลังศรัทธา
เราเป็นเหยื่อของเหล่าอีกา อีแร้ง
เหล่าอีกา อีแร้ง สะใจจริงๆ
อนาถหนักหนาเหล็กที่พามาอาวุธ
แอบอ้างว่าพิทักษ์ชน
โอ้....มุสลิม
ผู้เป็นเหยื่อ ของเหล่าซาตาน
ที่บ้ายศถาบรรดาศักดิ์
ตะกละอำมหิต
โอ้พระเจ้า
ช่วยบ่าวของพระองค์ด้วย
ชี้นำความดี
ต้านทานความชั่ว

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อยากจะกอดเธอใฝ่ฝันเป็นแต่ลม

[ กดเบาๆนะจ๊ะ ]
[ กดเบาๆนะจ๊ะ ]

ดูที่ nibongfm.wordpress.com

จุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนคนนิบง 107.50 MHz ได้พัฒนามาจากศูนย์เรียนวิทยุชุมชนคนยาลอ ก่อเกิดมาจากกระบวนเจ็ดขั้นตอนของการมีส่วน และได้เครื่องส่งเพื่อออกอากาศมาจากเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้ โดยนายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากากับทีมงาน เป็นผู้ประสานงาน
ปี 2546 เครือข่ายองค์กรชุมชนคนยาลอ โดนประเด็นสื่อได้จัดทำวารสารและสื่อทางวิทยุครั้งแรกได้เช่าวิทยุอสมท.ออกอากาศ สับดาห์ละ 1 ครั้งๆละ 30 นาที่ เช่าเดือนละ 3000 บาทต่อมาได้ตั้งศูนย์เรียนรู้วิทยุชุมชนที่มัสยิดกลางยะลา ร่วมจัดรายการเฉพาะช่วงกลางคืน ทางคณะทำงานได้จัดเวที่มองเห็นว่ามีกลุ่มผู้ฟังต้องการน่าจะจัดรายการกลางวันด้วยและทางทีมงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนยะลา เครือข่ายวิทนยุชุมชนภาคใต้ ตั้งศูนย์เรียนรู้วิทยุชุมชนคนยาลอ ใช้ความถี่ 105.75 มกฮ.
ปี 2547 ได้จัดประชุมเสนอขย้ายสถานีนอกมัสยิด เนื่องจากความไม่สะดวกในการนำเสนอรายการหากจัดในมัสยิด มีผู้เสนอจัดตั้งไม่อีกหนึ่งสถานีต่างหาก ที่มีอยู่ในมัสยิดให้คงไว้สำหรับถ่ายทอดการบรรยาย ต้องจึงจำเป็นจัดตั้งหาทุนจากการบริจาค และการร่วมลงทุนโดยให้ผู้สนใจให้ทีมงานยืมเงิน และหากมีกำไรจากการดำเนินการทางทีมงานจะแบ่งปันผลกำไร ได้รวบรวมเงินทุนจากเครือข่ายองค์กรชุมชนมุสลิมมอบให้นายอนันต์ ยะผาเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบาการวบรวมเงินทุนได้เป็นเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)
จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนคนนิบงทดลองออกอากาศ ณ บ้านเลขที่ 16 ถนนสิโรรส 5 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แล้ะปิดออกอากาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 โดยนิมิง นิมูดออิหมามมัสยิกกลางยะลามาทำพิธีเปิดสวิทสถานีนำเสียงออกอากาศทางคลื่นความถี่ 104.50 MHz เป็นครั้งแรก
ปี 2548 เนื่องจากความถี่ดังกล่าวไปรบกวนโทรทัศน์ชาวบ้าน ได้เปลี่ยนมาอยู่ที่ความถี่ 107.50 MHz และการดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารวิทยุชุมชนคนนิบง ได้จดทะเบียนเสนอที่สงขลา มีนายอับดุลลาเตฟ ณ คุณเชาวณ์ เป็นหัวหน้าสถานี นายมูฮำมัด บิลหะยีอาบูบากา เป็นผู้อำนวยการ
ปี 2549 กลุ่มเยาวชนคนวิทยุเข้าร่วมจัดรายการ มีเยาวชนจากสถาบันต่างๆ 7 สถาบันเข้าร่วมจัดรายการ เปิดเวบไซด์ nibongfm.wordpress.com หาผู้สนับสนุนรยการ เพื่อใช้จ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าไฟ ค่วจ้างผู้ดูแล ฯพณฯ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รีฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะนั้นมาเยี่นมเยียน
ปี 2550 เข้าร่วมเป็นสมาชิดสมาพันธ์วิทยุชุมชนแห่งประเทศไทย จัดทำวิจัย”เรื่อง การบริหารจัดการวิทยุชุมชนคนนิบงโดยชุมชนมีส่วนร่วม”
ปี 2551 ได้ย้ายสถานี ไปที่ เลขที่ 5 ถนนวิฑูรอุทิศ 1 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อบจ.ยะลา สนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ แต่ขาดงบประมาณ สร้างเสาทาวเวอร์ 180,000 บาท

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมคนนิบง

ยะลา ในเดือนเทศกาลการถื่อศิดอดชาวมุสลิมเป็นเวลาสามสิบวัน ต้องอดทน และเมื่อสำเร๊จฟัยฟาอถปสรรคแห่งอารมณ์ ก็รื่นรมเป็นวันแห้งชัยชนะ

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

Selamat Hari Raya

Radio Rakyat Konnibong

วิทยุชุชมชนคนนิบง

ชีวิต ที่เดินทาง
โดดเดี่ยว และเดี่ยวดาย
ผู้คนมากมาย
ต่างก็ไม่ยกย่อ
ฉันเดินก้าวต่อไป
ถึงจะขาดใจตายไป
หวังเพื่อสานส์แห่งพระองค์
เจ้าจะได้หยิบมาดู มาฟังบ้าง
ความตะกละตามกลางโลก
เจ้าจะหันหลังให้กับพรองค์กระนั้นหรือ......

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

ทางหลวงคอกช้างเบตง เส้นทางช้างเดิน


บาลิง มกราคม “ทางหลวงสายยะลาเบตงวกวงขี้เมาหากไม่มีเงินมาขับรถสายนี้ได้ หายอยากเมา”
ผู้สื่อข่าวคนนิบงได้สอบถามถึงการเดินทางเข้าเบตงของคนบางคนที่มีกิจธุระจำเป็นและได้คำตอบว่า”ทุกครั้งคิดแล้วคิดอีกจะไปดีหรือไม่ เพราะไปทุกครั้งกว่าจะถึงเบตงต้องอ้วกทุกที่”
ทางหลวงยะลาเบตงสายนี้นับเป็นเส้นทางสายที่โหดสำหรับคนที่ไม่เคยใช้สำหรับถนนสายนี้ ซึ่งเป็นถนนที่กรมทางหลวงสร้างย้อนรอยเท้าช้างยุคสมัย 50-60 ที่แล้ว ไม่ยอมพัฒนา และ เป็นเส้นทางเดินเท้าใช้ช้างเป็นพาหนะ ถนนคนเดินที่วกวงเลี่ยวซ้ายขวา เหวลึกชั่นตามสภาพภูมิประเทศที่เต็มด้วยหุบเขา
การหากมาใช้ในปัจจุบันโดยรถยนต์การเดินทางที่ขับรถเต็มด้วยความระทึกใจแม่ค้าท่านหนึ่งกล่าวว่า” ตื่นเต้น เหมือนเที่ยวสวนสนุก ใช้เส้นทางเหมือนขึ้นรถไฟตีลังกา หากจะให้สบายไม่สบายเลยกับเส้นทางนี้ แม้แต่คู่คลองที่เป็นเหวลึกที่ยื่นถนนก็ต้องหลบ ไม่ยอมสร้างสะพาน ปล่อยให้ชาวบ้านขับรถวกไปวกมา”
ชาวเบตงท่านหนึ่งกล่าวว่า”สภาพการเดินทางขาดความสะดวกสบาย เลยกลุ่มนายทุนคิดสร้างสนามบิน เพื่อจะได้หลุดพ้นเส้นทางนี้ ปล่อยให้ชาวบ้านคนจนท้นทุกข์ทรมาน”
สภาพของทางหลวงเส้นนี้ นับตั้งแต่คอกช้าง อำเภอธารโต เส้นทางสายนี้แบ่งเป็นสองสาย รัฐไม่ยอมลงทุน ให้ชาวบ้านหาทางเลือกเอาเองใครจะใช้เส้นทางที่วกวนก็ใช้เส้นทางล่าง จะได้เมาสะใจ และใครจะใช้ภูเขาจะมีทางแยกเส้นทางแยกขึ้นบนภูเขา ขับรถเส้นทางนี้หากใครอยากเล่นสกีภูเขากับรถก็ใช้เส้นทางนี้ เพราะเป็นเส้นทางที่สนุกสนานมีเนินสูง มีลงเหวลึกเป็นวิบากกรรมสำหรับชาวยะลาเบตงแท้ๆที่ใช้เส้นทางนี้เป็นอย่างมาก คนขับเท็กซีมักจะใช้เส้นทางนื้กล่าวกับเราว่า”ใช้เส้นทางนี้เพราะ เวลาเดินทางสยิวดี คล้ายกับนั่งอึบในส้วม”
ชาวเบตงท่านหนึ่งกล่าวกับเราว่า”คนสร้างเส้นทางนี้เป็นวิศวะเรียนจบจากประเทศไหนก็ไม่รู้ สร้างเส้นทางนี้ไม่มองการณ์ไกล ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่ยอมผ่าภูเขาหรือสร้างสะพาน เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ถนนหนทางสายนี้ หรือตัวเองไม่เคยใช้เส้นทางนี้ อยู่ส่วนกลางไม่เคยเห็นความทุกข์ยากลำบาก เลยไม่อนุมัติงบประมาณ สร้างให้ดีขึ้น น่าจะพัฒนาบ้าง เผื่ออนาคตสถานการณ์สงบจะได้เป็นแหล่งท้องเที่ยวสำหรับชาวบ้าน ไม่ใช่อนุมัติสร้างสนามบินเป็นพันหมื่นล้านเพื่อกลุ่มคนนายทุนซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย สร้างสนามบินมีแต่เป็ดบิน นานๆอีแร้งมากินซากศพหมา สร้างแล้วไม่ได้ใช้ปล่อยเป็นคอกแพะ คอกควาย สร้างเศรษฐกิจ ดีกว่าเยอะ”
“อันที่จริงเอาเงินที่สร้างสนามบินมาสร้างเส้นทางให้ชาวบ้านได้ขับรถสบายๆดีกว่า ตกแต่งริมเส้นทางทั้งสองฝากให้สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยว แถมเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอีกด้วย ไม่ใช่มีแต่สองฝากถนนเหวและภูเขา หน้าผาดินถล่ม แทนที่จะสร้างให้ดี ทำเป็นชั้นภูเขา ริมข้างทาง จะได้เวลาฝนตกน้ำไม่กัดเซาะดินทลายทับเส้นทาง หรืออนุมัติงบประมาณสร้างถนนแพงไปแล้ว แต่ทำไปแล้ว ทำแต่พอเพี่ยง เวลาทำพ่อค้าจองจะฮั้วกินปูนยางมะตอย ก็พวกนายทุนคดโกงกลบตาพยายามทำยังไงเพื่อกำไรเยอะ ทำงานไม่ตรงตามสเป็ก จะได้พังเร็วๆไม่ต้องดีจะได้มีงานทำต่อ เวลาดินถล่ม ฮั้วกินกันอร่อยดี”
วันก่อนผู้สื่อข่าวของเราได้ไปทัศนศึกษาทางรัฐเคดาห์มาเลเซีย ได้เดินทางเส้นทางระหว่างอำเภอกรีด-บาลิง ซึ่งมีภูมิประเทศคล้ายกับเบตงในจังหวัดยะลา เต็มไปด้วยภูเขาเหวหุบผา แต่เดินทางบนถนนสายนี้ สบายนุ่มนวลไม่รู้สึกว่าขับรถบนภูเขา ท่ามกลางเหวลึก มีความรู้สึกน่าขับรถมาอีก ไม่เหมือนสายยะลา-เบตงอยากจะให้ผู้รับผิดชอบกรมทางหลวงได้มาดูถนนเส้นทางนี้บ้าง
หวังว่าผู้อ่านคงเข้าใจ หากใครรู้จักคนที่รับผิดชอบถนนสายนี้ช่วยบอกด้วย ไม่ใช่อะไร ช่วยบอกบุญด้วย